วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต + คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย ของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ            

 โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต

             

 เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย                

ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำหน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความ             

เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ  


ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1.ตราบังคับใช้เมื่อใด พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
                จาก วิกิซอร์ซข้ามไปที่: นำทางสืบค้น
พระราชบัญญัติ
                ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาพรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

พ.ศ. ๒๕๕๐
                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ให้บริการ”  หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
                มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
                มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
                มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
                มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
                มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
                มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
                มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรี
                หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
                ที่มา http://www.cowboythai.com/forum/index.php?topic=1443.msg9206;topicseen
ทำไมจึงต้องตรา พรบ. ฉบับนี้ขึ้นมาการละเมิดข้อมูลข่าวสารกับความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ตอนที่ 3
กลไกในการคุ้มครองและเยียวผู้ที่ถูกกระทำละเมิดให้เกิดความเสียหายจากการกระทำความผิดที่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การละเมิดข้อมูลข่าวสารกับความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
                ตอนที่ 3
จะเห็นได้ว่าผู้กระความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์2550อาจเกิดการกระทำความผิดขึ้นที่ใดๆ ในโลกก็ได้ กรณีนี้ ถ้าเป็นความผิดที่เจตนาให้มีผลในประเทศไทย แต่ถูกการกระทำบางอย่างที่ทำให้ผลนั้นไม่เกิดในประเทศไทย เช่น มีคนเปิดเว็บไซต์ในต่างประเทศ แล้วมีข้อความหมิ่นประมาท คนในประเทศดูข้อมูลนั้นได้ แต่อาจจะมีไอซีทีไปบล็อกไม่ให้เข้ามาในประเทศไทย อาจเกิดข้อสงสัยว่า ผู้ทำเว็บนั้นมีความผิดตามกฎหมายไทยหรือไม่ตามมาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ(1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษจะต้องได้รับโทษภายในราชอาณาจักรลักษณะของการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีผลเกิดขึ้นโดยไม่มีเขตแดน (borderless) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่ว่าจะส่ง ณ ที่แห่งใดในโลกก็จะส่งผลที่สามารถเปิดระบบคอมพิวเตอร์ดูได้ทั่วโลกจึงถือว่าเป็นอาชญากรรมที่ไร้พรมแดน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาความรับผิดและการรับโทษตามบททั่วไปของประมวลกฎหมายอาญาด้วย ดังนี้ การกระทำส่วนหนึ่งส่วนใดในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550นี้เป็นบทบัญญัติความผิดที่มีโทษทางอาญา ดังนั้นจึงต้องนำหลักกฎหมายความรับผิดในเรื่องหลักดินแดนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาใช้ด้วย ดังนี้มาตรา ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำ ในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักรโดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักรหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรให้ถือว่า การตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
ซึ่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง การเข้าแทรกแซง ทำลาย การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่นั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กระทำในประเทศไทย แต่ถ้าผลที่เกิดขึ้น คือผู้รับข้อมูลสามารถเปิดรับข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นในประเทศไทยได้ย่อมถือว่าผลแห่งการกระทำเกิดในประเทศไทย และถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกับกรณีที่มีการตระเตรียมการหรือความพยายามกระทำการใดๆ ที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้เป็นความผิด แม้การตระเตรียมการหรือการพยายามนั้นจะได้กระทำนอกประเทศไทยแต่ถ้าหากกระทำไปตลอดแล้วผลจะเกิดในประเทศไทย ก็ถือว่าการตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้กระทำในประเทศไทยดังนั้นหากทำความผิดที่ต่างประเทศ เช่น โพสรูปหรือข้อความ ในเว็บไซต์ ,เว็บบอร์ด หรือส่งทาง Email หรือForward Mail ที่ต่างประเทศ พ.ร.บ.ฉบับนี้ครอบคลุมถึงการกระทำความผิดในต่างประเทศ ทั้งที่กระทำโดยคนไทย หรือแม้แต่คนต่างชาติ แต่ถ้าการเผยแพร่ข้อมูลนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือสถาบัน หรือความมั่นคงของชาติ ก็ถือว่าเข้าข่ายความผิดทั้งสิ้นส่วนกลไกในการคุ้มครองเยียวยานั้นจะเห็นได้ว่าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา จึงทำให้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีหรือกฎหมายวิธีพิจารณาหรือที่เรียกว่ากฎหมายวิธีสบัญญัตินั้นต้องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีในศาลแขวงเป็นหลัก แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้สร้างกลไกพิเศษขึ้นมาโดยมี พนักงานเจ้าหน้าที่” ซึ่งได้แก่บุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนโดยมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งต้องใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์สำหรับพิสูจน์การกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้มี พนักงานเจ้าหน้าที่” โดยให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ขณะเดียวกันพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ไม่ได้ตัดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ด้วยเหตุผล ประการ ประการแรกคือ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีหลายเรื่องยังคงควรเป็นของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอยู่ด้วยไม่ว่าการจับ ควบคุมตัว รวมทั้งการรับแจ้งความร้องทุกข์ ประการที่สองคือ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นในลักษณะของการกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทงต่างวาระกัน ซึ่งความผิดฐานอื่นนั้นไม่อยู่ในอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อุปสรรคอย่างหนึ่งในการใช้กฎหมายในเรื่องนี้คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับ พนักงานเจ้าหน้าที่” ก็น่าเป็นห่วงเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสืบสวนสอบสวนความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงควรมีสังกัดของหน่วยงานให้ชัดเจน เช่น อาจจะมีการตั้งเป็นลักษณะของสำนักงานชั่วคราวสังกัดอยู่ในสังกัดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อน เพื่อที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้ประสานงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษมาฝึกอบรมเพื่อแต่งตั้งเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่” เพื่อใช้อำนาจตามมาตรา 18 ซึ่งกำหนดไว้เป็นพิเศษสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เท่านั้นจะเห็นได้ว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องของสิทธิความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในการใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ซึ่งการกระทำนั้นก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ดังนั้นในเรื่องนี้จึงต้องมีการควบคุมในเรื่องของการใช้อินเทอร์เน็ตในเรื่องการสื่อสาร การส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งการโพสรูปหรือข้อความใน
เว็บไซต์ ,เว็บบอร์ด หรือส่งทาง Email หรือ Forward Mail ที่ทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย และ พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็มีกลไกการคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายด้วย ดังนั้นอยากจะฝากเตือนผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ระบบอินเทอร์เน็ตให้ระมัดระวังในการใช้ ในการส่งข้อมูล รูปภาพต่างๆ การกระทำเช่นนั้นอาจจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยก็เป็นได้
3.มีประเด็นสำคัญเอย่างไร
                กรณีศึกษา : การจัดทำเว็บหมิ่นสถาบันเบื้องสูงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีการจัดกุมผู้จัดทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบันเบื้องสูง ทำให้มีข้อสงสัยว่าการกระทำดังกล่าวมีความผิดอย่างไรบ้างเป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีการจัดกุมผู้จัดทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบันเบื้องสูง ทำให้มีข้อสงสัยว่าการกระทำดังกล่าวมีความผิดอย่างไรบ้าง เพราะข้อหาต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาสำหรับทำความเข้าใจและเป็นประสบการณ์ของนักคอมพิวเตอร์และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษานี้เพื่ออธิบายว่า ผู้ดูแลเว็บไซต์ที่จัดทำเว็บไซต์หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือเป็นผู้ให้บริการ จงใจ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดดังกล่าว จะมีโทษ ลักษณะคือ
1. โทษตามกฎหมายอาญา 2. โทษตามพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
                กรณีศึกษา  : ศาลจำคุกอดีตแฟนที่โพสภาพโป๊ประจานผู้หญิงกรณีศึกษาเกี่ยวกับการโพสภาพโป๊ของแฟนเก่าครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษาที่แสดงถึงการใช้กฎหมายเกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ ในการลงโทษผู้ต้องหา อันเป็นสิ่งที่กล่าวถึงกันอยู่เสมอว่า กรณีเหล่านั้นจะใช้การลงโทษเช่นไรกรณีศึกษาเกี่ยวกับการโพสภาพโป๊ของแฟนเก่าครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษาที่แสดงถึงการใช้กฎหมายเกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ในการลงโทษผู้ต้องหา อันเป็นสิ่งที่กล่าวถึงกันอยู่เสมอว่า กรณีเหล่านั้นจะใช้การลงโทษเช่นไร เนื่องจากเป็นการนำรูปภาพของแฟนเก่าที่เคยมีสัมพันธ์กันมาโพสในเว็บเพื่อเป็นการประจานผู้หญิง ผลก็คือ จำเลยถูกจำคุกเป็นเวลา เดือน และให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 200,000 บาท เป็นคดีตัวอย่างที่แสดงถึงการใช้อำนาจตามกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับใครที่คิดจะนำภาพโป๊ไปประจานผู้อื่น: ภัยจากอินเทอร์เน็ต แอบถ่ายดาราโพสบนเว็บเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก แต่จิตใจคุณธรรมจริยธรรมมนุษย์ตามไม่ทัน คนเลว คนชั่วจึงฉวยโอกาสอาศัยช่องว่างนี้แสวงหาโอกาสจากเด็กและเยาวชนกรณีศึกษาที่ไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อเกิดกรณีสองดาราดังถูกแอบถ่ายในห้องน้ำโรงแรมที่พักตั้งแต่เมื่อสองปีก่อน ถูกนำเอาคลิปไปโพสในเว็บไซต์ นั่นคือ ภัยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตอีกแบบหนึ่ง กรณีเช่นนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้จะมีผู้ถูกจับกุมไปแล้วหลายราย แต่ก็มีคนพยายามทำเช่นนี้เสมอ
4. เราต้องปฎิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทำความผิดเช่น1. การส่งไฟล์หรือข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทางอีเมลล์การโพสข้อความที่จาบจ้วงเบื้องสูงลงในเว็บไซต์ หรือโพสรูปโป๊เปลือย อนาจารลงในเว็บบอร์ด เป็นต้นครับการส่งต่อ ภาพอาณาจาร ไปให้บุคคลอื่นๆ ที่ทำให้บุคลให้ภาพได้รับผลกระทบทางด้านชื่อเสียงความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
                1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
                2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
                3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
                4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
                1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
                2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
                3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
                4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
   แหล่งที่มาhttp://aomam-blog.blogspot.com/2010/09/blog-post.html

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มีผู้คนที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันกว่า 20ล้านคนทั่วโลกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลายคนคงแปลกใจว่าจดหมายเหล่านี้หาเส้นทางเดินไปยังปลายทางได้ถูกต้องอย่างไร ทำไมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงขยายได้อย่างไม่มีวันจบสิ้น และการใช้งานบนเครือข่ายยังคงแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกมาก

รู้จักกับตู้จดหมาย (mailbox)
ก่อนที่จะรู้จักกับอีเมล์ควรมาทำความรู้จักกับตู้จดหมายของตัวเองก่อน mbox หรือmailbox คือ ตู้จดหมายของตนเอง เมื่อผู้ใช้มีชื่อยูสเซอรือยู่บนเครื่องหลักที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ก็จะได้รับตู้จดหมายโดยอัตโนมัติ ตู้จดหมายนี้เป็นที่เก็บจดหมายเมื่อมีผู้ส่งมาให้เรา ดังนั้นเมื่อเราเริ่มใช้เครื่องขณะใดก็ตาม       ก็จะเปิดดูตู้จดหมายว่ามีจดหมายมาเก็บไว้ในตู้จดหมายนี้หรือไม่ สามารถเรียกจดหมายมาดูได้ เมื่อดูเสร็จแล้วจะนำออกจากตู้จดหมายหรือจะฝากเอาไว้ก่อนก็ได้ ตู้จดหมายจึงเสมือนตู้จดหมายจริง ๆ ที่เก็บจดหมายไว้ในเครื่องได้ และเป็นส่วนตัวเฉพาะบุคคลเท่านั้น
ปกติเมื่อเราเป็นผู้ใช้บนอินเตอร์เน็ตเราจะได้ชื่อแอดเดรสของการอ้างอิงบนอินเตอร์เน็ตและเราสามารถกำหนดชื่อนี้เป็นอีเมล์แอดเดรสได้ เช่นsomsak@nwg.nectec.or.th ชื่อนี้มีสองส่วนคือส่วนหน้า @ และส่วนที่อยู่ข้างหลัง @ ส่วนหน้าหมายถึงตู้จดหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นชื่อตู้จดหมาย ซึ่งผู้ใช้ชื่อยูสเซอร์นี้เป็นเจ้าของ ส่วนเครื่องที่ตู้จดหมายเก็บไว้จะมีชื่อเครื่อง ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่อยู่หลัง @ คือ nwg.nectec.or.th

แอดเดรสของคุณคืออะไร
เมื่อคุณเริ่มเป็นสมาชิกในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งหนึ่งที่คุณได้รับคือมีชื่อยูสเซอร์บนเครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ณ เครื่องหลักนี้คุณได้ชื่อยูสเซอร์ จึงเสมือนว่าคุณมีแอดเดรสอยู่บนเครื่องหลักที่ตั้งอยู่บนอินเตอร์เน็ต บนอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดแอดเดรสของเครื่องโดยใช้ชื่อ โดเมน เช่น nontri.ku.ac.th หมายถึงเครื่อง nontri อยู่ในเครือข่าย ku.ac.thซึ่งหมายถึงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาอยู่ในประเทศไทย เช่นหากได้รหัสชื่อยูสเซอร์เป็น b38bmxก็หมายถึงว่าคุณมีแอดเดรสเป็น b38bmx@nontri.ku.ac.thชื่อนี้จะเป็นชื่อที่อ้างอิงได้ทั่วโลกทุกจุดบนอินเทอร์เน็ตสามารถหาเส้นทางส่งข่าวสารมาให้b38bmx@nontri.ku.ac.th ได้อย่างแน่นอน
ดังนั้นแอดเดรสที่ได้รับจึงหมายถึงชื่อยูสเซอร์บนเครื่องที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ชื่อนี้จะเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงได้ การพิมพ์ลงในนามบัตรเพื่อให้ผู้อื่นติดต่อมาจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และอ้างอิงทั่วถึงกันทั้งหมดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การรับส่งเมล์ระหว่างเครื่องใช้โปรโตคอล SMTP
บนอินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นฐานการติดต่อระหว่างกัน บน TCP/IP มีการกำหนดการรับส่งข้อมูลระหว่างกันในรูปแบบการรับส่งจดหมาย (เมล์) คือ SMTP SMTPย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol SMTP ได้รับการออกแบบมาให้มีการรับส่งเมล์กันอย่างอัตโนมัติ กล่าวคือ ในเครื่องหลักที่คุณทำงานจะมีโปรแกรมรับและส่งเมล์ ทำงานเป็นเดมอนโปรเซส (การทำงานเป็นแบลกกราวนด์โปรเซสคือทำงานตลอดเวลา) เพื่อทำหน้าที่รับและส่งเมล์ เช่นโปรแกรม smail หรือ sendmail ทำหน้าที่คอยส่งเมล์ ถ้ามีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่ง ก็จะติดต่อกับปลายทางแล้วยังส่งไม่ได้ ก็จะเก็บจดหมายนั้นไว้ก่อน รออีกสักสองสามชั่วโมงก็จะส่งใหม่อีก ทำซ้ำจนกว่าจะส่งได้สำเร็ส หากส่งไม่ได้ในสามวันก็จะส่งกลับให้เจ้าของ พร้อมทั้งบอกเหตุผลของการส่งไม่ได้
โปรโตคอล SMTPนี้เป็นโปรโตคอลหลักสำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากในระบบเครือข่ายอื่น เช่นเครือข่ายของไมโครซอฟต์มีการส่งด้วย msmail โปรแกรม msmail มีโปรโตคอลการส่งของตัวเอง หากต้องการผ่านเข้ามาทางอินเตอร์เน็ตจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปโปรโตคอล SMTP ก่อน เส้นทางการเปลี่ยนนี้เรียกว่า SMTP เกตเวย์

เมล์บนอินเตอร์เน็ตหาเส้นทางไปได้อย่างไร
การกำหนดแอดเดรสของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการกำหนด mbox เฉพาะของแต่ละบุคคลที่อยู่บนชื่อเครื่องหลัก ในการหาเส้นทางจึงกำหนดเป็นลำดับชั้น โดยใช้ชื่อ เช่นs38bmx@cc2.cpe.ku.ac.th โดยหาเส้นทางจาก .th หมายถึงประเทศไทย .ac หมายถึงสถาบันการศึกษา ku คือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ cpe คือภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ cc2 คือเครื่องคอมพิวเตอร์หลักของภาควิชา s38bmx คือ mbox ในเครื่อง cc2







อินเทอร์เน็ตคืออะไร?


อินเทอร์เน็ตคืออะไร?


                 อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร(Protocol)เดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว


การเปิดสมัครอีเมลฟรีของGmail


การเปิดสมัครอีเมลฟรีของGmail
เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมลมีอยู่มากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมและเป็นรายใหญ่คงจะหนีไม่พ้น Hotmail และ Yahoo แต่แล้วสองยักษ์ใหญ่ในวงการอีเมลก็ต้องหวาดกลัว เมื่อ Google ที่เป็นเจ้าแห่งการ Search Engine ประกาศจะทำการเปิดบริการ Gmail ฟรีอีเมลใหม่ ซึ่งจะให้เนื้อที่แก่ผู้ใช้บริการมากถึง 1 กิกะไบต์ หรือ 1,000 เมกกะไบต์ (MB) ซึ่งมากกว่า Yahoo และ Hotmail ประมาณพันเท่า ซึ่งทำให้ในอนาคต Google จะกลายเป็นคู่แข่งของ Microsoft ในเรื่องให้บริการฟรีอีเมล

รายละเอียดของ Gmail
Gmail คือบริการฟรีอีเมลที่ทำงานบนระบบ Search Engine หน้าตาดูจะไม่แตกต่างจากรูปแบบของ Google เท่าไหร่ กล่าวคือไม่มีลูกเล่น ดูเรียบง่ายแต่เน้นที่ความรวดเร็วในการเข้าถึงเป็นหลัก สัญลักษณ์ (logo) นั้นประกอบไปด้วย 4 สี คือ น้ำเงิน เขียว แดง และเหลือง ยังคงความเป็น Google ได้ดีมาก โดยหน้าหลักของ Gmail ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้


·         ส่วนที่หนึ่ง คือส่วนด้านซ้าย ทำหน้าที่คล้ายๆกับบริการฟรีอีเมลอื่น ๆ นั่นคือให้เข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของบริการได้ง่าย ประกอบด้วย Inbox , Sent mail , All mail , Spam หรือ Junk mail , Trash
ลูกเล่นที่น่าสนใจ “Starred” เป็นส่วนพิเศษที่เว็บอื่นไม่เคยมีให้ Starred เป็นการทำเครื่องหมาย (Mark) ให้แก่จดหมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของผู้ใช้ว่า อีเมลที่ถูก mark นั้น สำคัญกว่าอีเมลอื่นๆ และอีกส่วนหนึ่งคือ Labels ซึ่งทำงานคล้ายกับ folder เราสามารถเพิ่มเข้าไปในจดหมายฉบับใดก็ได้ และในแต่ละ folder ก็จะมี labels ได้หลายอัน หลายท่านอาจจะมองภาพไม่ออก จึงขอยกตัวอย่างให้ดู เช่น แฟ้มเก็บเอกสาร 1 แฟ้ม ในเอกสารทั้งหมดอาจจะมีแผ่นกระดาษแทรกแบ่งเอาไว้ด้วยว่า ช่วงหน้าไหนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ก็เป็นทำนองเดียวกัน labels ก็คือส่วนที่จะบอกเราได้ว่าจดหมายฉบับไหนเป็นอะไร ซึ่งจะเป็นการแยกย่อยลงไปได้อีกในแต่ละ folder
·         ส่วนที่สอง คือ ส่วนกลาง จะเป็นจดหมาย ประกอบด้วยชื่อผู้ส่ง, หัวข้อจดหมาย, เวลาที่รับจดหมายเข้ามา นอกจากนี้แล้ว ยังมีปุ่มใช้งานทั้งบนและล่างของส่วนกลาง ซึ่งเราสามารถที่จะใช้ปุ่มเหล่านี้ทำงานคู่กับการทำเครื่องหมายถูกหน้าจดหมาย หลังจากนั้นเลือก Report As Spam จะเป็นการบอกให้ Gmail ทราบว่าจดหมายฉบับนี้เป็นอีเมลขยะ ดังนั้นระบบทำการจัดเก็บ เพื่อทำเป็นฐานข้อมูลในการตรวจจับspam ในคราวต่อไป เป็นต้น
·         ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่ทำให้ Gmail พิเศษกว่าที่อื่น คือ การค้นหาอีเมล” (search mail) เพียงแค่ใส่คำหลัก(key words) ลงไป แล้วกด search mail จากนั้นการทำงานก็จะเหมือน Search Engine ทุกประการ อีเมลทุกฉบับที่มีคำหลักนั้นก็จะปรากฏขึ้นมา ซึ่งในส่วนนี้ จะรวดเร็ว ง่าย และเปี่ยมประสิทธิภาพ เป็นหัวใจหลักของ search mail ที่ Gmail ต้องการมีไว้สำหรับใช้ดึงดูดผู้ใช้บริการ เนื่องจาก Gmail แปลงจากระบบกล่องเก็บจดหมาย มาเป็น ห้องสมุดเก็บจดหมายโดยใช้ระบบ Indexing Technology ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถที่จะเก็บอีเมลได้มากเท่าที่ต้องการ
ข้อควรระวังในการใช้ Gmail
ถึงเราจะลบรายชื่อเมลแล้ว ก็ยังสามารถ Search หาใหม่ได้ทุกเมื่อ เนื่องจากอีเมลนั้นก็เพียงแต่หายไปจากเครื่อง แต่มิได้หายไปจากฐานข้อมูลของ Google นั่นหมายความว่า อีเมลส่วนตัวทุกฉบับที่มีการส่งถึงกันระหว่างผู้ใช้บริการ Gmail จะต้องผ่านการตรวจสอบและสแกนจากทาง Google เพื่อที่จะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล Search Engine E-mail ซึ่งทางด้านกฎหมายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (เหมือนกับว่าทาง Google จะสามารถล่วงรู้ความลับของเราได้ทุกเมื่อ หากมีการติดต่อกันผ่านทางอีเมล) ดังนั้นหากมีอีเมลที่เป็นความลับ หรือเป็นส่วนตัว ไม่อยากเก็บไว้ เราก็จะไม่มีทางลบให้หายไปได้อย่างถาวร เนื่องจากทุกอย่างขึ้นตรงกับ Google แต่เพียงผู้เดียว

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต


ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลกจึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
 1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย 

               2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต (Telnet)
เป็นบริการอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้านเรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง 

                3.การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol
หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือรูปภาพและเสียง

                4.การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบเป็นเมนูทำให้เราหาข้อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น 

                5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet)
เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenetมากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง 

                6.การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat)
เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกันซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่งการสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 

               7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือคอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก 

               8.การให้ความบันเทิง(Entertain)
ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น

โทษของอินเตอร์เน็ต
1.โรคติดอินเตอร์เน็ต (Webaholic) อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือการเล่นอินเตอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนันการติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเตอร์เน็ตเพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเองโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
 • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
 • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
 • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
 • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
 • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
 • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
 • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
 • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
 • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้นถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าการติดเทคโนโลยีอย่าง เช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงวัยกลางคนและไม่มีงานทำ
2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเตอร์เน็ตแต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆเพื่อที่จะทำลายข้อมูลหรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาตมันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการและสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ในยุคของสังคมแห่งข่าวสารปัจจุบันการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเครือข่าวคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันได้ในปัจจุบันมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทุกทิศทั่วโลกผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของอินเตอร์เน็ตนับได้ว่าเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเตอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ณ  จุดใดจุดหนึ่งก็ตามเพื่อทำการส่งข้อมูลและข่าวสารระหว่างกันได้การบริการข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมีหลาหลายรูปแบบและมีผู้สนใจเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นทุกวันมีเครือข่ายทั่วโลกที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประมาณ 50,000 เครือข่ายจำนวนผู้ใช้จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วในปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 100 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเราจึงกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขว้างมีการขยายตัวสูงและมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่ายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะจงหากแต่มีประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต  ในปี พ.ศ.2512  ก่อนที่จะก่อตัวเป็นอินเตอร์เน็ตจนกระทั่งทุกวันนี้
                อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาจาก  อาร์พาเน็ต(ARP Anet) ซึ่งเป็นเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้การรับผิดชอบของอาร์พาเน็ต (Advanced Pesearch Projects Agency)ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ตและโดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นพลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยยุคสงครามเย็นในทศวรรษของปี พ.ศ. 2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะสงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วนโดนเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์