วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


การทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มีผู้คนที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันกว่า 20ล้านคนทั่วโลกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลายคนคงแปลกใจว่าจดหมายเหล่านี้หาเส้นทางเดินไปยังปลายทางได้ถูกต้องอย่างไร ทำไมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงขยายได้อย่างไม่มีวันจบสิ้น และการใช้งานบนเครือข่ายยังคงแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกมาก

รู้จักกับตู้จดหมาย (mailbox)
ก่อนที่จะรู้จักกับอีเมล์ควรมาทำความรู้จักกับตู้จดหมายของตัวเองก่อน mbox หรือmailbox คือ ตู้จดหมายของตนเอง เมื่อผู้ใช้มีชื่อยูสเซอรือยู่บนเครื่องหลักที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต ก็จะได้รับตู้จดหมายโดยอัตโนมัติ ตู้จดหมายนี้เป็นที่เก็บจดหมายเมื่อมีผู้ส่งมาให้เรา ดังนั้นเมื่อเราเริ่มใช้เครื่องขณะใดก็ตาม       ก็จะเปิดดูตู้จดหมายว่ามีจดหมายมาเก็บไว้ในตู้จดหมายนี้หรือไม่ สามารถเรียกจดหมายมาดูได้ เมื่อดูเสร็จแล้วจะนำออกจากตู้จดหมายหรือจะฝากเอาไว้ก่อนก็ได้ ตู้จดหมายจึงเสมือนตู้จดหมายจริง ๆ ที่เก็บจดหมายไว้ในเครื่องได้ และเป็นส่วนตัวเฉพาะบุคคลเท่านั้น
ปกติเมื่อเราเป็นผู้ใช้บนอินเตอร์เน็ตเราจะได้ชื่อแอดเดรสของการอ้างอิงบนอินเตอร์เน็ตและเราสามารถกำหนดชื่อนี้เป็นอีเมล์แอดเดรสได้ เช่นsomsak@nwg.nectec.or.th ชื่อนี้มีสองส่วนคือส่วนหน้า @ และส่วนที่อยู่ข้างหลัง @ ส่วนหน้าหมายถึงตู้จดหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นชื่อตู้จดหมาย ซึ่งผู้ใช้ชื่อยูสเซอร์นี้เป็นเจ้าของ ส่วนเครื่องที่ตู้จดหมายเก็บไว้จะมีชื่อเครื่อง ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่อยู่หลัง @ คือ nwg.nectec.or.th

แอดเดรสของคุณคืออะไร
เมื่อคุณเริ่มเป็นสมาชิกในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งหนึ่งที่คุณได้รับคือมีชื่อยูสเซอร์บนเครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ณ เครื่องหลักนี้คุณได้ชื่อยูสเซอร์ จึงเสมือนว่าคุณมีแอดเดรสอยู่บนเครื่องหลักที่ตั้งอยู่บนอินเตอร์เน็ต บนอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดแอดเดรสของเครื่องโดยใช้ชื่อ โดเมน เช่น nontri.ku.ac.th หมายถึงเครื่อง nontri อยู่ในเครือข่าย ku.ac.thซึ่งหมายถึงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาอยู่ในประเทศไทย เช่นหากได้รหัสชื่อยูสเซอร์เป็น b38bmxก็หมายถึงว่าคุณมีแอดเดรสเป็น b38bmx@nontri.ku.ac.thชื่อนี้จะเป็นชื่อที่อ้างอิงได้ทั่วโลกทุกจุดบนอินเทอร์เน็ตสามารถหาเส้นทางส่งข่าวสารมาให้b38bmx@nontri.ku.ac.th ได้อย่างแน่นอน
ดังนั้นแอดเดรสที่ได้รับจึงหมายถึงชื่อยูสเซอร์บนเครื่องที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ชื่อนี้จะเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงได้ การพิมพ์ลงในนามบัตรเพื่อให้ผู้อื่นติดต่อมาจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และอ้างอิงทั่วถึงกันทั้งหมดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การรับส่งเมล์ระหว่างเครื่องใช้โปรโตคอล SMTP
บนอินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นฐานการติดต่อระหว่างกัน บน TCP/IP มีการกำหนดการรับส่งข้อมูลระหว่างกันในรูปแบบการรับส่งจดหมาย (เมล์) คือ SMTP SMTPย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol SMTP ได้รับการออกแบบมาให้มีการรับส่งเมล์กันอย่างอัตโนมัติ กล่าวคือ ในเครื่องหลักที่คุณทำงานจะมีโปรแกรมรับและส่งเมล์ ทำงานเป็นเดมอนโปรเซส (การทำงานเป็นแบลกกราวนด์โปรเซสคือทำงานตลอดเวลา) เพื่อทำหน้าที่รับและส่งเมล์ เช่นโปรแกรม smail หรือ sendmail ทำหน้าที่คอยส่งเมล์ ถ้ามีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่ง ก็จะติดต่อกับปลายทางแล้วยังส่งไม่ได้ ก็จะเก็บจดหมายนั้นไว้ก่อน รออีกสักสองสามชั่วโมงก็จะส่งใหม่อีก ทำซ้ำจนกว่าจะส่งได้สำเร็ส หากส่งไม่ได้ในสามวันก็จะส่งกลับให้เจ้าของ พร้อมทั้งบอกเหตุผลของการส่งไม่ได้
โปรโตคอล SMTPนี้เป็นโปรโตคอลหลักสำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากในระบบเครือข่ายอื่น เช่นเครือข่ายของไมโครซอฟต์มีการส่งด้วย msmail โปรแกรม msmail มีโปรโตคอลการส่งของตัวเอง หากต้องการผ่านเข้ามาทางอินเตอร์เน็ตจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปโปรโตคอล SMTP ก่อน เส้นทางการเปลี่ยนนี้เรียกว่า SMTP เกตเวย์

เมล์บนอินเตอร์เน็ตหาเส้นทางไปได้อย่างไร
การกำหนดแอดเดรสของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการกำหนด mbox เฉพาะของแต่ละบุคคลที่อยู่บนชื่อเครื่องหลัก ในการหาเส้นทางจึงกำหนดเป็นลำดับชั้น โดยใช้ชื่อ เช่นs38bmx@cc2.cpe.ku.ac.th โดยหาเส้นทางจาก .th หมายถึงประเทศไทย .ac หมายถึงสถาบันการศึกษา ku คือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ cpe คือภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ cc2 คือเครื่องคอมพิวเตอร์หลักของภาควิชา s38bmx คือ mbox ในเครื่อง cc2







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น