วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของจดหมายธุรกิจ


ประเภทของจดหมายธุรกิจ
                จดหมายธุรกิจแบ่งตามจุดประสงค์ของการเขียนได้ ๓ ประเภท ดังนี้
๑. จดหมายสอบถามและจดหมายตอบ
                ๑.๑ จดหมายสอบถาม หมายถึง จดหมายที่ติดต่อระหว่างบริษัทห้างร้านด้วยกัน หรือที่เอกชนติดต่อกับบริษัทห้างร้าน เพื่อสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการทราบ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นหลังจากได้คำตอบ

                ๑.๒ จดหมายตอบสอบถาม หมายถึง เป็นจดหมายลักษณะเดียวกันแต่แทนที่จะสอบถาม ก็จะเขียนตอบข้อเท็จจริงของผู้ที่สอบถาม เพื่อให้ผู้ที่ติดต่อมาได้ ทราบในสิ่งที่ตนต้องการ
๒. จดหมายสั่งซื้อสินค้าและตอบรับการสั่งซื้อสินค้า
               ๒.๑ จดหมายสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ เพื่อผู้ขายจะได้ส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อได้ถูกต้อง
              ๒.๒ จดหมายตอบรับการสั่งซื้อสินค้า หมายถึง จดหมายที่ทางบริษัทตอบให้ผู้ซื้อทราบว่าได้รับการสั่งสินค้าแล้ว
๓. จดหมายสมัครงาน หมายถึง จดหมายที่บุคคลต้องการจะสมัครทำงานเขียนไปถึงบริษัทห้างร้าน เพื่อขอสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งที่ตนต้องการ
                จะเห็นได้ว่าความหมายของจดหมายแต่ละประเภทมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ทางธุรกิจ หรือประโยชน์ทางธุรกิจในการเขียนจดหมายนั้นวิธีใช้จดหมายดังกล่าวจะสอดคล้องของประเภทของจดหมาย แต่เพื่อให้มองเปรียบเทียบได้ ชัดเจนขึ้นขอให้ดูตารางหน้าถัดไปรูปแบบและส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจ หน่วยงานแต่ละแห่งในปัจจุบัน นิยมใช้จดหมายธุรกิจรูปแบบที่หลากหลาย สุดแล้วแต่ว่ารูปแบบใดจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วและเหมาะสมที่สำคัญคือควรใช้กระดาษปอนด์อย่างดีเป็นกระดาษที่พิมพ์หัวจดหมายของบริษัทและจัดวางรูปแบบให้สวยงาม ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป
จดหมายธุรกิจมีรูปแบบและส่วนประกอบแต่งต่างจากบันทึก เพราะมีรายละเอียดมากกว่า รูปแบบและส่วนประกอบหลักของจดหมายธุรกิจมีดังนี้
๑. รูปแบบของจดหมายธุรกิจ รูปแบบของจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันทั่วไป พอสรุปได้มี ๓ รูปแบบ ดังนี้
               ๑.๑ แบบบล็อก (block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ทุกบรรทัดชิดเส้นกั้นหน้า ยกเว้นเฉพาะที่อยู่ผู้ส่ง (กรณีที่ใช้หัวจดหมายที่พิมพ์สำเร็จรูปไว้) ดังภาพประกอบที่ ๑
              ๑.๒ แบบกึ่งบล็อก (modified block style) เป็นรูปแบบที่พิมพ์ให้ส่วนเลขที่จดหมาย ที่อยู่ของผู้รับ คำขึ้นต้น และสิ่งที่ส่งมาด้วย อยู่ชิดเส้นกั้นหน้าและส่วนที่อยู่ของผู้ส่ง วัน เดือน ปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ ชื่อเต็ม และตำแหน่ง อยู่กลางหน้ากระดาษหรือค่อนไปทางขวาเล็กน้อย ส่วนเรื่อง จะพิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ในส่วนข้อความต้องพิมพ์ให้บรรทัดแรกของข้อความแต่ละย่อหน้าร่นเข้าไปประมาณ ๕–๑๐ ระยะตัวอักษร ดังภาพประกอบที่ ๒
               ๑.๓. แบบย่อหน้า (indented style) เป็นรูปแบบเหมือนกับแบบกึ่งบล็อก แต่อาจนำเอาส่วนเรื่อง พิมพ์อยู่เหนือคำขึ้นต้นก็ได้ ดังภาพประกอบที่ ๓
๒. ส่วนประกอบของจดหมายธุรกิจจดหมายธุรกิจโดยทั่วไป มีส่วนประกอบดังนี้
                ๒.๑ ที่อยู่ผู้ส่ง เป็นการระบุชื่อและที่*ตั้งของบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการเจ้าของจดหมาย เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าจดหมายฉบับดังกล่าวมาจากที่ใด และจะตอบจดหมายส่งหลับไปยังที่ใด โดยอาจอยู่กลางหน้ากระดาษ ทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวามือก็ได้ ตามปกติบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการทั่วไปนิยมใช้กระดาษพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูปไว้แล้ว ซึ่งมีการออกแบบต่าง ๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่นิยมใส่ตราบริษัท (Logo) หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรพิมพ์ หรือโทรสารของบริษัทไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการติดต่อและเพื่อเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปในตัว และเนื่องจากในปัจจุบันนอกจากการติดต่อต่อธุรกิจภายในประเทศแล้ว การติดต่อค้าขายยังขยายกว้างไปสู่นานาประเทศมากขึ้น และเพื่อให้เกิดความสะดวกอย่างเต็มที่บริษัทส่วนใหญ่จึงนิยมพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูป ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป หากเป็นกรณีที่ไม่มีกระดาษพิมพ์หัวจดหมายสำเร็จรูปไว้ ให้พิมพ์ชื่อและที่ตั้งของบริษัทเอง โดยมีรายละเอียดไม่เกิน ๓-๔ บรรทัด
                 ๒.๒ เลขที่จดหมาย/ปี พ.ศ. ให้เขียนเลขที่จดหมายและปีพุทธศักราชที่จัดทำจดหมายฉบับ ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บเอกสารและอ้างอิงต่อไป เลขที่จดหมายนิยมกำหนดขึ้น โดยเรียงตามลำดับของจดหมายที่จัดทำขึ้นในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่เลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึงปีปฏิทิน อย่างไรก็ตามแต่ละหน่วยงานหรือกิจการอาจมีวิธีการกำหนดเลขที่จดหมายแตกต่างกันออกไป
                 ๒.๓ วัน เดือน ปี หมายถึง วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงหรือการติดต่ออันอาจมีขึ้นในภายหลัง ให้ลงเฉพาะตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปี พ.ศ.
                 ๒.๔ ที่อยู่ผู้รับ หมายถึง การระบุชื่อ ตำแหน่ง และที่อยู่ของผู้รับเพื่อประโยชน์สำหรับการเก็บจดหมายไว้เป็นหลักฐาน ในส่วนของที่อยู่ผู้รับนี้ นิยมระชื่อตำแหน่งและที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งรวมถึงรหัสไปรษณีย์ด้วย ควรให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและไม่ควรใช้ตัวย่อหากไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใดควรตรวจสอบหาข้อมูลที่ถูกต้องไม่ควรใช้วิธีการคาดเดา เพราะอาจทำให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งย่อมส่งผลให้ผู้รับจดหมายเกิดความไม่พอใจได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจดหมายธุรกิจบางรายไม่นิยมใส่ที่อยู่ผู้รับไว้เนื่องจากไม่เห็นความจำเป็นทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ความสะดวก ความเหมาะสม และความต้องการของผู้เขียนแต่ละรายด้วย
               ๒.๕ เรื่อง หมายถึง เรื่องหรือสาระสำคัญสั้น ๆ ของจดหมายฉบับนั้น มีลักษณะคล้ายกับเรื่องในจดหมายติดต่อราชการหรือบันทึก เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้รับ ก่อนที่จะอ่านเนื้อความในจดหมายเพื่อให้พอทราบว่าจดหมายฉบับนั้นมีจุดประสงค์อย่างไร เรื่องควรมีลักษณะสั้น กะทัดรัด แต่ได้ใจความสำคัญ ครอบคลุมรายละเอียดและจุดประสงค์ของจดหมาย ควรมีความยางอยู่ระหว่าง ๑/๒ - ๑ บรรทัด แต่หากสาระสำคัญมาก อาจมีความยาวถึง ๒ บรรทัดได้ แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกินกว่านี้ ในจดหมายธุรกิจส่วนมากนิยมวางตำแหน่งของเรื่องไว้ก่อนขึ้นส่วนข้อความ อย่างไรก็ดี อาจมีหน่วยงานบางแห่งยึดถือตามรูปแบบของจดหมายติดต่อราชการ กล่าวคือ วางตำแหน่งของเรื่องไว้ก่อนส่วนคำขึ้นต้น ทั้งนี้สุดแล้วแต่ความต้องการของแต่ละหน่วยงาน
               ๒.๖ คำขึ้นต้น เป็นการทักทายที่แสดงการเริ่มต้นจดหมาย มีลักษณะเช่นเดียวกับการเริ่มต้นการสนทนาด้วยการกล่าวว่า สวัสดีแต่การใช้คำขึ้นต้นในจดหมายธุรกิจทั่วไปนิยมใช้ เรียนตามด้วยตำแหน่งหรือชื่อของผู้ที่จดหมายนั้นมีถึง แต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้ถูกต้องกับระดับชั้นของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
                ๒.๗ เนื้อหาหรือใจความสำคัญ หมายถึง ส่วนที่เสนอเนื้อหาหรือสาระสำคัญของจดหมายที่เขียน ตามปกติแล้ว จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย อาจมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้ ในการพิมพ์จดหมายให้เว้นแต่ละบรรทัดห่างกัน ๑ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว และแต่ละย่อหน้าห่างกัน ๒ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยว
                ๒.๘ คำลงท้าย เป็นการอำลาผู้อ่าน โดยทั่วไปนิยมใช้คำว่า ขอแสดงความนับถือแต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้สอดคล้องกับคำขึ้นต้น และถูกต้องกับระดับชั้นของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
                ๒.๙ ลายมือชื่อ เป็นการลงลายมือชื่อเจ้าของจดหมาย
               ๒.๑๐ ชื่อเต็ม หมายถึง การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่ออันได้แก่ ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าบอกสถานภาพตลอดจนตำแหน่ง โดยพิมพ์ห่างจากคำลงท้ายประมาณ ๔ ช่วงบรรทัดพิมพ์เดี่ยวทั้งนี้เพื่อเว้นที่ว่างไว้สำหรับลงลายมือชื่อ นอกจากการพิมพ์ชื่อเต็มแล้ว บริษัทบางแห่งนิยมพิมพ์ชื่อบริษัทไว้ในส่วนนี้ด้วย โดยอาจพิมพ์ให้อยู่เหนือหรือใต้ชื่อที่พิมพ์เต็ม
                ๒.๑๑ ข้อสังเกตอื่น ๆ ในส่วนต่อจากลายมือชื่อและการพิมพ์ชื่อเต็ม ผู้เขียนจดหมายธุรกิจอาจรวมข้อสังเกตอื่น ๆ ไว้ชิดเส้นกั้นหน้าด้วยในกรณีที่มีความจำเป็นอันได้แก่
                 ๒.๑๑.๑ สิ่งที่ส่งมาด้วย หมายถึง ส่วนที่ระบุชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปพร้อมกับจดหมายฉบับนั้น ในกรณีที่มีสิ่งของหรือเอกสารมากกว่า ๑ รายการ นิยมบอกเป็นเลขลำดับ อย่างไรก็ดี บางหน่วยงานที่ยึดถือตามรูปแบบของจดหมายติดต่อราชการ อาจวางตำแหน่งของสิ่งที่ส่งมาด้วยต่อจากส่วนคำขึ้นต้น
                 ๒.๑๑.๒ อักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ หมายถึง ส่วนที่ระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ ให้นำพยัญชนะต้นของชื่อและชื่อสกุลของผู้ลงนามและผู้พิมพ์มาเขียนย่อไว้ โดยระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามไว้เป็นอันดับแรกและอักษรย่อชื่อผู้พิมพ์ไว้เป็นอันดับหลังเช่น ถ้าผู้ลงนามมีชื่อว่านายวิฑูรย์ มานะวิทย์ ก็จะได้อักษรย่อชื่อผู้ลงนามว่า วม และถ้าผู้พิมพ์มีชื่อว่า นางสาวสุนทรี วิริยะ อักษรย่อชื่อผู้พิมพ์ คือ สว ดังนั้น จึงสามารถระบุอักษรย่อชื่อผู้ลงนามและผู้พิมพ์ได้ว่า วม/สว
                  ๒.๑๑.๓ สำเนาส่ง หมายถึง ส่วนที่แจ้งให้ผู้รับจดหมายทราบว่า ผู้ส่งได้จัดทำสำเนาจดหมายส่งไปให้หน่วยงานหรือบุคคลใดทราบบ้างแล้ว โดยพิมพ์ชื่อของหน่วยงานหรือชื่อหรือตำแหน่งของบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อเป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หากมีสำเนาจดหมายส่งไปให้หน่วยงานหรือบุคคลมากกว่าหนึ่ง นิยมบอกเป็นเลขลำดับเพื่อความชัดเจน
                   ๒.๑๑.๔ ปัจฉิมลิขิต ซึ่งใช้อักษรย่อว่า ป.ล. หมายถึง ส่วนข้อความที่ผู้เขียนต้องการเพิ่มเติมหรือเน้นเป็นพิเศษ ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ควรใช้ส่วนนี้ในจดหมายธุรกิจ เพราะอาจทำให้ผู้รับ จดหมายเกิดความรู้สึกว่า ผู้เขียนไม่รอบคอบพอ จึงลืมระบุประเด็นบางอย่างไว้ในตัวจดหมายและ จำเป็นต้องมาเพิ่มไว้ในต้อนท้าย การระบุส่วนปัจฉิมลิขิตอาจใช้ได้กรณีของจดหมายเสนอขายเท่านั้น เช่น ในกรณีที่ต้องการย้ำเตือนผู้อ่านเกี่ยวกับข้อเสนอพิเศษในการเสนอขายของบริษัท
๓. การใช้กระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป
                ตามปกติ จดหมายธุรกิจควรสั้นและกระชับ และไม่ควรมีความยาวเกินกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ แต่ในบางโอกาสซึ่งมีน้อยมาก จดหมายอาจมีความยาวมากกว่าหนึ่งหน้ากระดาษ ในกรณีเช่นนี้ ในกระดาษแผ่นที่สองและแผ่นต่อไป ต้องมีข้อความไม่น้อยกว่า ๓ บรรทัด และให้ใช้กระดาษที่ไม่มีตัวจดหมายสำเร็จรูป แต่เป็นกระดาษชนิดและขนาดเดียวกันกับแผ่นแรก และประกอบด้วยข้อมูล ๓ อย่าง ชื่อต้องพิมพ์ไว้ที่ส่วนบนของกระดาษ ห่างจากของกระดาษด้านบนประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง คือ ๑ ชื่อหรือตำแหน่งของผู้รับจดหมาย แล้วแต่กรณี โดยให้สอดคล้องกับแผ่นแรก คือ ๒ เลขหน้าซึ่งใช้คำว่า หน้าตามด้วยหมายเลขบอกหน้า คือ ๓ วัน เดือน ปี ดังภาพที่ ๔
๔. ข้อควรปฏิบัติในการพิมพ์จดหมายธุรกิจการพิมพ์จดหมายธุรกิจมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
              ๔.๑ ใช้กระดาษอย่างดีสีขาว ขนาด ๘.๕ x ๑๑ นิ้ว หรือกระดาษมาตรฐาน A๔ และเป็นสีเดียวกับซอง
              ๔.๒ ใช้กระดาษเพียงหน้าเดียว
              ๔.๓ รักษาความสะอาด และระมัดระวังในเรื่องของรูปแบบการจัดวางรูปจดหมาย ตัวสะกด การันต์ และการแบ่งวรรคตอน
               ๔.๔ เว้นเนื้อที่ว่างขอบกระดาษด้านบนและของกระดาษด้านซ้าย ไม่น้อยกว่า ๑.๕ นิ้ว ดังภาพประกอบที่ ๕
               ๔.๕ จัดทำสำเนาจดหมายส่งออกทุกครั้ง เพื่อเก็บเป็นหลักฐานการติดต่อ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการอ้างอิงหรือติดตามเรื่องต่อไป

ที่มา: http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=45&id=5042

การเขียนจดหมายธุรกิจ


การเขียนจดหมายธุรกิจ

แนวคิด
จดหมายธุรกิจมีหลายลักษณะหลายประเภทตามโอกาสที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารการศึกษาเรื่องจดหมายธุรกิจช่วยให้สามารถร่างจดหมายติดต่องานต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการเขียน ตลอดจนสำนวนภาษา ข้อความที่โต้ตอบอันจะนำมาซึ่งค่านิยมที่ดีและความสำเร็จในการงาน

วัตถุประสงค์
          บอกความสำคัญของการใช้จดหมายในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจได้บอกประเภทของจดหมายที่ใช้โต้ตอบทางธุรกิจได้ใช่คำประโยคและระดับของภาษาในการเขียนจดหมายธุรกิจได้ถูกต้องเรียงลำดับข้อความ หรือเนื้อหาสาระของจดหมายธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

เนื้อหาโดยสังเขป
การเขียนจดหมายเป็นการส่งสารที่นิยมที่นิยมใช้กันมากทั้งในเรื่องส่วนตัว  เรื่องกิจธุระ  หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ  เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก ประหยัด และเป็นหลักฐานในการติดต่อเมื่อเกิดมีปัญหาขึ้น  ดังนั้น  การเขียนจดหมายควรจะระมัดระวังเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาให้ถูกต้องชัดเจน  เพื่อให้การประกอบกิจธุระหรือการทำงานของตนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและประสบผลสำเร็จ

หลักทั่วไปในการเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายโดยทั่วไป  ผู้เขียนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
เขียนให้ถูกแบบของจดหมายแต่ละประเภท
ใช้คำขึ้นต้นให้เหมาะสมแก่ผู้รับตามฐานะหรือความสัมพันธ์กัน
เขียนเนื้อหาให้ได้ใจความชัดเจน สมบูรณ์ และถูกต้องตามที่ต้องการ
ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ถูกต้อง และสุภาพ

เขียนด้วยลายมือที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ และอ่านได้ง่าย  ถ้าใช้พิมพ์ดีดก็ต้องรักษาความสะอาด  ไม่ให้มีรอยขูดขีดฆ่าหรือรอยลบใช้คำสรรพนาม และคำลงท้ายที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้รับใช้กระดาษเขียนจดหมายและซองที่มีสีอ่อนหรือสีสุภาพ  ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาดการเขียนจดหมายนั้น  ขึ้นอยู่กับประเภทของจดหมายแต่ละประเภทด้วย ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งจดหมายออกได้เป็น 4 ประเภท คือ           1. จดหมายส่วนตัว  เป็นจดหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวโดยเฉพาะ  ซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยหรือสนิทสนมกันดี  เป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการ  เช่นจดหมายไต่ถามทุกข์สุข  จดหมายแสดงความยินดี หรือเสียใจ เป็นต้นจดหมายกิจธุระ  เป็นจดหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องธุระการงานอันเป็นการติดต่อสื่อสารที่ไม่ได้เกี่ยวกับผลประโยชน์ในกำไรหรือขาดทุนทางด้านการค้าหรือธุรกิจ เช่น จดหมายเชิญวิทยากร  จดหมายขอเข้าชมสถานที่ เป็นต้นจดหมายธุรกิจ  เป็นจดหมายที่ติดต่อเกี่ยวกับเรื่องการค้าระหว่างบุคคล ร้านค้า บริษัทต่าง ๆ ที่เนื่องด้วยกำไรหรือขาดทุน  เช่น จดหมายสั่งซื้อสินค้า  จดหมายทวงหนี้  จดหมายสมัครงาน  เป็นต้น            จดหมายราชการ หรือหนังสือราชการ  เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวกับเรื่องราชการ เช่น หนังสือราชการภายนอก  หนังสือคำสั่ง  หนังสือข้อบังคับ  เป็นต้นการเขียนจดหมายในที่นี้  จะฝึกการเขียนจดหมายทางธุรกิจ  อันได้แก่ จดหมายสมัครงาน  จดหมายขอเปิดเครดิต  จดหมายเสนอขายสินค้า  จดหมายสอบถาม  จดหมายสั่งซื้อสินค้า  จดหมายต่อว่า  และจดหมายทวงหนี้การเขียนจดหมายสมัครงาน             จดหมายสมัครงานเป็นจดหมายสำหรับบุคคลที่จะก้าวไปสู่อาชีพที่ตนมีความถนัดและเหมาะสม  เพราะหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะประกาศรับสมัครบุคคลเข้าทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ  แม้ว่าหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะมีวิธีรับสมัครและสอบคัดเลือกเป็นระบบอยู่แล้ว  แต่ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะให้เขียนจดหมายสมัครงานหรือไปสมัครด้วยตนเอง  ในการเขียนจดหมายสมัครงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องเรียกร้องความสนใจจากผู้รับสมัครให้มีความต้องการที่จะรับเข้าพิจารณาตามตำแหน่งหน้าที่ที่เปิดรับสมัครไว้  เพราะจดหมายสมัครงานก็เปรียบเสมือนการเสนอขายสินค้าซึ่งในที่นี้ก็คือความรู้ความสามารถของเรา  ดังนั้น  การเขียนจดหมายสมัครงานจึงต้องเขียนให้ดีที่สุดโดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้               1. การเลือกใช้กระดาษ และซองจดหมาย  ควรเลือกใช้กระดาษเขียนจดหมายและซองสีขาว  หรือถ้าเป็นสีก็เป็นสีอ่อน หรือสีสุภาพ  สะอาด  แต่ไม่ควรใช้กระดาษและซองของราชการ  หรือกระดาษและซองที่มีหัวกระดาษของบริษัทห้างร้าน หรือมีลวดลายต่าง ๆ                2.  การพิมพ์หรือเขียนข้อความในจดหมาย  ควรพิมพ์ข้อความในจดหมาย  นอกจากจะระบุว่าให้เขียนด้วยลายมือ  ผู้สมัครก็ควรเขียนด้วยลายมือของตนเอง  ห้ามให้ผู้อื่นเขียนให้  เพราะผู้รับสมัครต้องการพิจารณาบางประการเกี่ยวกับลายมือของผู้สมัคร                3.  การใช้สำนวนภาษา  ควรใช้สำนวนภาษากึ่งทางการ หรือภาษาเขียนที่ถูกต้อง  ชัดเจน ทั้งตัวสะกด การันต์ ไม่มีรอยขูดฆ่า ขีดลบ หรือมีร่องรอยแก้ไข เพราะจะทำให้ไม่น่าดูหรือส่อให้เห็นว่าผู้สมัครทำงานไม่เรียบร้อย                4.  การเขียนข้อความในจดหมาย  ควรเขียนให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม วกวน หรือร่ำพรรณนาความทุกข์ยากจนเกินเหตุ  และไม่กล่าวถึงปัญหาของตนทั้งปัญหาส่วนตัว  ด้านครอบครัว  และการทำงาน  เพราะเราจจะกลายเป็นตัวปัญหาของหน่วยงานที่สมัครมากกว่าที่จะแก้ปัญหาของหน่วยงานนั้นส่วนการเขียนข้อความในจดหมายสมัครงานนั้น  ควรแบ่งเป็นย่อหน้าให้ใจความในแต่ละย่อหน้ามีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งมีหลักในการเขียนดังนี้ย่อหน้าแรก  กล่าวถึงการทราบข่าวการรับสมัครงานว่าทราบจากแหล่งใด  มีความสนใจและความเหมาะสมสอดคล้องกับตำแหน่งที่ผู้รับสมัครต้องการ เช่น  ผมได้อ่านประกาศรับสมัครงานในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ  ฉบับวันที่ 12 กันยายน  2546  ว่าบริษัทของท่านรับสมัครพนักงานตำแหน่งการเงินหลายตำแหน่ง  ผมสนใจใคร่ขอสมัครงานในตำแหน่งดังกล่าว
ย่อหน้าที่สอง  ให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัวที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา  เช่น  ชื่อนามสกุล  อายุ  การศึกษา  โดยเน้นวิชาที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง  หน้าที่  ความสามารถพิเศษ  ประสบการณ์  หรือกิจกรรมที่เคยทำเกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัคร  เช่น  ผมมีอายุ 21 ปี  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะวิทยาการจัดการ  สาขาวิชาการบัญชี  จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เมื่อปีการศึกษา 2545 และได้เข้าทำงานทันทีโดยเป็นพนักงานบัญชี ของบริษัทไมตรีจิต จำกัด  ปัจจุบันก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่  แต่ที่ต้องการจะเปลี่ยนงานใหม่ก็เพื่อประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างออกไป และเพื่อความก้าวหน้าและการมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งในระดับสูงขึ้นด้วย
ย่อหน้าที่สาม  อ้างถึงผู้รับรองหรือบุคคลที่จะให้รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับตนเองได้  เช่น  อาจารย์ที่เคยสอน  หัวหน้าที่ทำงานเดิม  เป็นต้น  โดยผู้สมัครต้องขออนุญาตผู้รับรองก่อน  ตัวอย่าง  บุคคลที่ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับนิสัยส่วนตัว และการปฏิบัติงานของผมได้จากบุคคลต่าง ๆ ดังนี้                1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช  วงศ์ภินันท์วัฒนา   ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร. 0-1717-4419อาจารย์วาลี  ขันธุวาร  ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร. 0-4324-6887”ย่อหน้าสุดท้าย  กล่าวถึงความมั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณา เช่น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จดหมายสมัครงานของผมคงได้รับการพิจารณาด้วยดี  ผมพร้อมที่จะมารับการสัมภาษณ์ หรือเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อใดก็ได้  ตามที่ท่านประสงค์
นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้นดังกล่าวแล้ว  ผู้สมัครอาจให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ถ้าหากผู้ประกาศประสงค์จะทราบรายละเอียดบางอย่างซึ่งผู้สมัครจะต้องเขียนให้ดีเพราะจดหมายสมัครงานเป็นเสมือนภาพสะท้อนทั้งด้านบุคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้สมัคร  การเขียนจึงต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอ  มีความกระจ่างชัด ตรงไปตรงมา  มีความสุภาพอ่อนน้อม และมีความถูกต้องด้านการใช้ภาษา  แต่ไม่ควรใช้คำพูดที่ยกตนข่มท่าน  ประจบสอพอ หรือให้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ที่สมัครการเขียนจดหมายธุรกิจ               การเขียนจดหมายธุรกิจ  หมายถึง  การเขียนจดหมายติดต่อระหว่างบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ หรือบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไป  เช่น  การสั่งซื้อสินค้า  การสอบถามราคา  การขอเปิดเครดิต  เป็นต้น  การเขียนจดหมายธุรกิจประเภทนี้จึงต้องใช้ข้อความที่กระชับรัดกุม ได้ใจความสมบูรณ์  ตรงไปตรงมา  และสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกันจดหมายธุรกิจแบ่งได้เป็น 6 ชนิด คือจดหมายขอเปิดเครดิต หรือ จดหมายขอเปิดบัญชีเงินเชื่อ และจดหมายตอบรับหรือปฏิเสธการให้เครดิตจดหมายเสนอขายสินค้าและบริการจดหมายสอบถาม และตอบสอบถามจดหมายสั่งซื้อสินค้า และตอบรับการสั่งซื้อจดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจจดหมายทวงหนี้หรือเตือนหนี้                การเขียนจดหมายธุรกิจนั้น  นอกจากจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาในข้อความจดหมายที่เขียนแล้ว  ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบจดหมายด้วย  เพราะเมื่อผู้อ่านเปิดจดหมายอ่านในครั้งแรกและเกิดความประทับใจในตัวจดหมายก็จะทำให้ธุรกิจของเราประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว  รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่แบบสี่เหลี่ยมเต็มรูป (Full-block style)  เป็นแบบที่เขียนให้ทุกบรรทัดชิดขอบซ้ายของกระดาษจดหมายแบบสี่เหลี่ยม (Block style) เป็นแบบที่เขียนให้ทุกบรรทัดชิดขอบซ้ายของกระดาษ ยกเว้นวันเดือนปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ อยู่กึ่งกลางกระดาษ                แบบกึ่งสี่เหลี่ยม (Semi-block style)  เป็นแบบที่คล้ายกับแบบสี่เหลี่ยม  แต่ให้เนื้อหาหรือข้อความของจดหมายย่อหน้าเข้าไปประมาณ 1 นิ้วรูปแบบจดหมายดังกล่าวนั้น เป็นรูปแบบของจดหมายธุรกิจของต่างประเทศที่นิยมใช้กันแต่ในทางปฏิบัติอาจจะมีการดัดแปลงให้เหมาะสมหรือความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ทำก็ได้  และการใช้รูปแบบของจดหมายตามรูปแบบของหนังสือราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.. 2526 ก็เป็นที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจเหมือนกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ๆ ว่าต้องการใช้รูปแบบของจดหมายแบบใดโดยทั่วไปจดหมายธุรกิจจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้หัวจดหมาย  เป็นชื่อ-ที่อยู่ของบริษัท ห้างร้าน ซึ่งมักพิมพ์หัวจดหมายไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อสะดวกในการใช้โดยไม่ต้องเขียนที่อยู่อีกวันที่ เดือน ปี  เป็นการระบุวันเดือนปีที่เขียนจดหมาย ซึ่งนิยมเขียนดังนี้คือสิงหาคม  2546
               ชื่อและที่อยู่ผู้รับ เป็นการเขียนชื่อหรือนามบริษัท ห้างร้านพร้อมทั้งที่อยู่ หรืออาจระบุตำแหน่งหน้าที่ก็ได้คำขึ้นต้น  ใช้คำขึ้นต้นให้เหมาะสมแก่ฐานะและบุคคล ที่นิยมใช้ในทางธุรกิจ ได้แก่ เรียน  ถึง  หรือกล่าวขึ้นลอย ๆ ว่า ท่านผู้มีอุปการะคุณคำลงท้าย  ใช้คำลงท้ายที่เหมาะสมแก่บุคคลและสอดคล้องกับการใช้คำขึ้นต้น ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ว่า ขอแสดงความนับถือลายมือชื่อ  เป็นการลงลายมือชื่อของผู้เขียนจดหมาย ซึ่งตามปกติจะมีการลงลายมือชื่อหวัด (ลายเซ็น) และวงเล็บชื่อสกุลตัวบรรจงข้างล่างลายเซ็นและตามด้วยตำแหน่งในบรรทัดถัดมาก็ได้อักษรย่อ  เป็นการใส่อักษรชื่อย่อของตนควบคู่กับชื่อย่อของคนพิมพ์ หรือใส่เฉพาะชื่อย่อของคนพิมพ์ก็ได้ เช่น ปน/วร  หรือ วร เป็นต้นสิ่งที่ส่งมาด้วย  เป็นเอกสารหรือสิ่งของแนบมากับจดหมายนั้นกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักศึกษาพิจารณาจดหมายธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่เคยได้รับ หรือพบเห็นว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างจากหลักการโดยทั่วไปอย่างไรให้นักศึกษา search  ข้อมูลใน website ต่าง ๆ ว่ามีการนำเสนอจดหมายทาง webpage หรือไม่  ถ้ามีเป็นจดหมายประเภทใด  และมีวิธีในการนำเสนออย่างไรนักศึกษาคิดว่าการเขียนจดหมายทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จควรมีรูปแบบ  ลักษณะ
  และการใช้ภาษาอย่างไร



ที่มา:http://www.google.com/urlsa=D&q=http://blog.eduzones.com/yimyim/3412&usg=AFQjCNFR0OXu0kI4e3BVI2ahi5Lh9pZ8Uw

เทคโนโลยีสารสนเทศ


       เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
โดยมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/

สารสนเทศ


สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล


ที่มา:http://th.wikipedia.org/wik

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


            คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความ
รู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มี
ความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา

               ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมี
ราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็น
สิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอ-
นิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยี
แล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า 
และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่ม
จากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนา
ให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ 

               ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมา
ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมอง
ของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้างเราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสม
กันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูล
ข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

              ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิด
คำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอด
วันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ 
ในชีวิตประจำวัน เช่นการฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียน
เรียนในโรงเรียน

              เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่
เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ 
 เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ
จึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
              การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่อง
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่
เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะ
นำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่ง
เช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวม
การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมา
ประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น การแสดง
ผลลัพธ์อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่
กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น
             การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก
 ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ 
เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
              การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ 
ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ 
ดาวเทียม เป็นต้น ลักษณะสำคัญ ของเทคโน โลยีสารสนเทศ โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนา
ประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก 
 ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้  
           4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้าน
เศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา 
 ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการ
ดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน
 เป็นต้น
           4.2เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี
 การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทาง
โทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
           4.3เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบ
รวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล 
ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
          4.4 เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของ
คนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม
แบบต่าง ๆ เป็นต้น

ที่มา:https://sites.google.com/site/pnru261/04

           

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ



             ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมากเทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลงสินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลาพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามาคาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำเมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่ามนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้นในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สดๆ เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบจะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา: http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/105/page02.html


วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์

คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

             อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 

การกระทำความผิดทางกฏหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

              อินเทอร์นัลโมเด็ม 

เป็นโมเด็มทีติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ มีราคาถูก ติดตั้งและซอมแซมได้ยาก เวลาทำงานจะเกิดความร้อนซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์


(26.เอมิกา) 
การประมวลผลแบบกลุ่ม   การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม


(27.กมลวรรณ)

โลกาภิวัตน์    การเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ประชากรโลกเกิดการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว มีความหมายเหมือนกับโลกานุวัตร
เวอร์ชัน  รุ่นของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่นเดิม โดยในเวอร์ชันของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มักจะแสดงไว้ด้ายหลังชื่อของผลิตภัณฑ์

(28.ชนิสร)
             ไคลเอนต์
   เรียกอีกอย่างว่า เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องที่ต้องให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลและเครื่องที่สามารถประมวลผลได้เอง ปกติจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเซิร์ฟเวอร์

(29. ธัญญาลักษณ์)
คลิปวีดีโอ    ภาพ เคลื่อนไหวประกอบเสียงที่ที่เป็นเหตุการณ์จริง  ซึ่งบันทึกไว้ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กนิยมอัพโหลดไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตปัจจุบันสามารถเรียกดูได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ เคลื่อนที่  

(30.ธิธาน)
Scanner (สแกนเนอร์) เป็นอุปกรณ์ที่จับภาพจากเครื่องพิมพ์ภาพ (photographic print) โปสเตอร์ หน้านิตยสาร และแหล่งคล้ายกันสำหรับการแก้ไขและแสดงผลของคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ มาใน hand-held, feed-in และ ประเภท flatbed และสำหรับการสแกนเฉพาะดำขาว หรือสี สแกนเนอร์ความละเอียดสูงได้รับการใช้สำหรับการสแกนสำหรับการพิมพ์ความละเอียดสูง แต่สแกนเนอร์ความละเอียดต่ำเพียงพอสำหรับการจับภาพสำหรับการแสดงผลจอภาพ ตามปกติ สแกนเนอร์มากับซอฟต์แวร์ เช่น ผลิตภัณฑ์Adobe Photoshop ที่ให้ปรับขนาดและการปรับปรุงอื่นกับภาพที่จับมา ตามปกติ สแกนเนอร์แนบติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับ Small  Computer System Interface (SCSI) การประยุกต์ เช่นPhotoshop ใช้โปรแกรม TWAIN อ่านภาพ

(31.นภัสสร)
            อินเตอร์เน็ตคาเฟ่                   
ร้านที่ให้บริการเช่าคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอรืเน็ตโดยคิดค่าบริการเป็นนาทีหรือชั่วโมง ปัจจุบันนิยมบริการอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปกับเกมประเภทที่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
            อีเบย์
        เว็บไซต์ที่ให้บริการโพสต์ (Post) และเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบ shopping Mall โดยผู้ซื้อและผู้จำหน่ายจะต้องสมัครเป็นสามชิกจึงจะสามารถใช้บริการได้

(32. ปาริฉัตร)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(33.  ภนิดา)

(34. รัตติกาล)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  นิยมเรียกว่า อีเมล (E-mail) เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  โดยผู้ส่งจะต้องมีที่อยู่หรือแอดเดรส (Address)(35. ลัดดา)


ผู้เชี่ยวชาญ    ผู้ชำนาญการหรือผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะสาขาของตนเอง
(36.วรางคณา)        
สารสื่อสารไร้พรมแดน 
ความหมาย ระบบการติดต่อสื่อสารที่ทุกคนสามารถติดต่อกันได้ทุกเวลาทุกสถานที่

(37. ศจี)
การประมวลผล  
      การจัดการข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดสารสนเทศ เช่น การเปรียบเทียบ การคำนวณ การสรุป


(38. สุรัตนา)
ซอฟต์แวร์ระบบ  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และ
ซอฟต์แวร์    ระยุกต์  เพื่อให้องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้


(39. หทัยกาญจน์)
พระราชบัญญัติ   กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น
พระราชบัญญัติ    กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น

(1. พิทักษ์)


(2. ภาณุวัฒน์)
ไฟล์ข้อมูล       รูปแบบของข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ ได้จากลักษณะของไอคอนและนามสกุลของไฟล์ข้อมูล

(3. จิตรกร)
อัพโหลดการถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปเก็บรักษาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์สำหลับถ่ายโอนข้อมูลโดยเฉพาะ

(4. วิริทธิ์พล)
มัลติมีเดียคืออะไร?
             มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียงและวีดีทัศน์
             มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์(Interactive Multimedia)
             มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพกราฟิก(Graphicimages) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น
             ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย  คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)   การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง  สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย ชาน่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
(5. สิริชัย)

อาชญากรคอมพิวเตอร์
ผู้กระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้คือ มือสมัครเล่น (Amateur) ซึ่งจะกระทำความผิดเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น แครกเกอร์ (Cracker) ที่เป็นผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และอาชญากรมืออาชีพ (Career Criminals) ที่มีความรู้ทางเทคนิคค่อนข้างสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น
(6. ชลกร)

เครือข่ายแลน เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ๆมีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ
(7. ยศนิธิ)
เครือข่ายแลน
          เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ ๆ มีพื้นที่จำกัดไม่เกิน   10  กิโลเมตร  โดยมี จุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็ก ๆ  หรือในองค์กรเดียวกัน                      
เชิร์ฟเวอร์นิยมเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน 


(8. ธรรมนิตย์)

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษร ที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc
(9. พงศกร)
เครือข่ายแมน เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างท้องถิ่นหรือสำนักงานที่มีอาคารหรือสำนักงานอยู่ในหลายพื้นที่แต่อยู่ในประเทศหรือเมืองเดียวกันโดยมุ่งเน้นการใช้งานร่วมกันเฉพาะกลุ่มไม่เปิดบริการให้ใช้แบบสาธารณะจึงมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายค่อนข้างสูง
(10. สุรดิษ)

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc

(11. อรรถพล)

(12. กิตติพงษ์)

(13. ชนินทร์)
จานแม่เหล็ก  มีลักษณะเป็นวงกลม แบน และเครือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจนมีทั้งขั้วบวกและ ขั้วลบ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ข้อมูลดิจิทัล ทำให้สามารถ บันทึกข้อมูลได้

(14. ธัญญ)

เซิร์ชเอนจิ้น   เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภทเซริท์เอนจิ้นประเภทที่นิยมมากที่สุด  คือ  การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ    
 จุดเชื่อมโยง  วัตถุหรือข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อโยงวัตถุหรือข้อมูลอื่น ๆ  ได้ด้วยการคลิกโดยวัตถุหรือข้อมูลนั้นอาจเป็นตัวอักษร ข้อความ  ภาพ  หรือภาพเคลื่อนไหว

(15. รวิสุทธิ์)
คอมพิวเตอร์แบบพกพา
       คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และส่งเสริมการทำงานด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อส่งเสริมการใช้งานแบบอิสระไม่นิยมติดตั้งไว้ในสถานที่เดียวเหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


(16.  สาธิต)
เคอร์เซอร์  
             ตัวชี้ตำแหน่งที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยปกติจะมีรูปแบบเป็นหัวลูกศร สำหรับชี้ตำแหน่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเคอร์เซอร์ในโปรแกรมประมวลผลจะมีลักษณะคล้ายตัวไอ (I) ในภาษอังกฤษ เพื่อแสดงตำแหน่งที่พิมพ์

(17. ณัฏฐาภรณ์)
เท็กซ์ไฟล์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการเก็บข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท็กซ์ไฟล์มักมีนามสกุล .txt และ .doc(18. ณัฏฐณิชา)
ตรรกศาสตร์ 
องค์ความรู้ที่กล่าวถึงความเป็นไปได้หรือความเป็นเหตุเป็นผล ประกอบด้วยจริงและเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์นำมาใช้แทนค่า 0 และ 1 ในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรแกรม หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์


(19. สุวภัทร)
 มัลติเมียเดีย   การนำเสนอข้อมูลหลายประเภทพร้อมๆกันที่สามารถนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีหลายๆชนิดประกอบกันหรือนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีเพียงชิ้นเดียวก็ได้ เช่น การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในเว็บไซต์พร้อมๆกัน 

(20. ตรงศร)
ไมโครชิป  สื่อบันทึกข้อมูลประเภทนึง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่
(21.วริศรา)
รอม 
        เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า

(22. พิมพ์วิมล)
 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานหรือตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ

(23. พุทธิดา)
ระบบสารสนเทศเพื่อประมวลผล 
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลผลรายการธุรกรข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำเพื่อสนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติการ

(24. พิมพ์ชนก)
เน็ตบุ๊ค   อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊คแต่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่า นิยมใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้สร้างชิ้นมากเหนือคอมพิวเตอร์ทั่วไป